วิสัยทัศน์การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย
บริการภาครัฐสะดวกโปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน
ในการยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิตอลของภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิตอล ดังวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่
1.ภาครัฐที่ปรับตัวทันการณี (Agile Government) การบูรณาระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งภายในกระทรวงและระหว่างกระทรวง ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานบนมาตรฐานเดียวกัน การควบรวมบริการที่คล้ายกัน ไปจนถึงการลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ภาครัฐสามารถปรับตัวได้ไว ทันเวลา ผ่านการบูรณาการข้อมูลและบริการดิจิทัลได้ไว ทันเวลา ผ่านการบูรณาการข้อมูลและบริการดิจิทัลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทันต่อเหตุการณ์และความต้องการของผู้รับบริการ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
2.ให้บริการที่ตอบสนองประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ (Responsive Goverment) การให้บริการและแพบตฟอร์มดิจิทัลภาครัฐที่ประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมในการเข้าถึงบริการและสิทธิสวัสดิการ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ การให้บริการดิจิทัลภาครัฐจะต้องง่าย สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพสูง มีความน่าเชื่อถือ มีความมั่นคง ปลอดภัยจากการคุกตามทางไซเบอร์ และยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric)
3.เพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งจันของภาคธุรกิจ (Enhance Competitiveness) การยกระดับงานบริการภาครัฐให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ ให้สามารถเข้าถึงบริการและแพลตฟอร์มดิจิทัลภาครัฐตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ (End-to-End Process) และเป็นแบบครบวงจร ณ จุดเดียว (One –Stop Service) รวมถึงการให้ข้อมูลที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตและการแข่งขันของภาคธุรกิจของประเทศในด้านสำคัญ เช่น การเกษตร การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แรงงานและการท่องเที่ยว เป็นต้น
4.โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล ประชาชนเชื่อถือและมีส่วนร่วม (Open Government & Trust) การเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะโดยที่ประชาชนไม่ต้องร้องขอ (Open by Default) และจัดสร้างช่องทางที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพสำหรับให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและมีส่วนร่วม ทั้งการแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ ติดตาม และตรวจสอบภาครัฐในด้านต่าง ๆ อาทิ นโยบายสาธารณะ การบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการยุติธรรม การจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการงบประมาณ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานของรัฐบาลและเสริมสร้างชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งผ่านการมีส่วนร่วมของประชาขน (Public Participation – Strong from Bottom)